จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

นางเงือก

เงือก เป็นอมนุษย์ชนิดหนึ่งตามความเชื่อนิยายปรัมปราเกี่ยวกับน้ำ โดยเป็นจินตนาการเกี่ยวกับสัตว์น้ำ โดยมากจะเล่ากันว่าเงือกนั้นเป็นสัตว์ครึ่งมนุษย์ มีส่วนครึ่งท่อนบนเป็นคน ส่วนครึ่งท่อนล่างเป็นปลา ในหลายประเทศทั่วโลก มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับตำนานเงือกมากมาย

มีเรื่องเล่าว่า เงือกนั้นสามารถเปลี่ยนโคนหางให้กลายเป็นขาสองข้างแบบมนุษย์ได้เมื่อต้องการจะอาศัยอยู่บนบก โดยเงือกจะขึ้นฝั่งและผึ่งหางให้แห้ง จากนั้นหางจะตกสะเก็ด และลอกคราบออก เช่นเดียวกับหนอนที่ลอกคราบออกเพื่อกลายเป็นผีเสื้อ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การลอกคราบเพื่อเปลี่ยนแปลงนั้นต้องใช้ระยะเวลาพอสมควร เงือกจึงสามารถอาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำและบนบก และอาจปะปนอยู่ร่วมกับสังคมมนุษย์

เงือกเป็นสัตว์น้ำที่มีสายพันธุ์เฉกเช่นปลาและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เงือกมีทั้งที่อาศัยอยู่ในน้ำเค็ม และอาศัยอยู่ในน้ำจืด แต่ทั้งสองสายพันธุ์จะแพ้ทางน้ำซึ่งกันและกัน โดยหากเงือกน้ำเค็มที่ลอกคราบหางเพื่อให้กลายเป็นขาแล้ว เมื่อสัมผัสกับน้ำจืด ขาก็จะแสดงลวดลายของเกล็ดปลาออกมาให้เห็น เช่นเดียวกันกับเงือกน้ำจืด หากสัมผัสขากับน้ำเค็มแล้ว ก็จะแสดงรูปร่างของผิวเกล็ดปลาออกมา แต่จะไม่กลายเป็นท่อนหางปลาในทันทีเช่นในภาพยนตร์ แต่จะเป็นเพียงการแสดงผิวนอกออกมา เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพนั้นมีระยะเวลานาน

เงือกเป็นหนึ่งในสิ่งมีชีวิตที่ต้องสืบพันธุ์โดยอาศัยเพศ เงือกมีทั้งเพศผู้ และเพศเมีย แต่ในเรื่องเล่าที่ได้ยินสืบต่อกันมาถึงเรื่องราวของเงือกที่เล่าถึงเงือกเพศเมียหรือนางเงือกเสียส่วนใหญ่ นั่นเป็นเพราะเงือกเพศเมียหรือนางเงือกมีอุปนิสัยที่ชื่นชอบในการโอ้อวดรูปโฉมของตนเอง จึงมักหาโอกาสแสดงตนให้สิ่งมีชีวิตอื่นๆรวมทั้งมนุษย์ได้เห็นอยู่เนื่องๆไปแม้จะแสร้งแสดงท่าทีหวาดกลัวและหนีลงน้ำไปก็ตาม โดยเงือกน้ำเค็มนั้นจะมีสีสันของเกล็ดและผิวพรรณสดสวยกว่าเงือกที่อยู่ในน้ำจืด หรือน้ำกร่อย มนุษย์บนดินได้แลเห็นนางเงือกอยู่เสมอ เลยพาลคิดไปว่าเงือกนั้นมีเพียงเฉพาะเพศเมียเท่านั้น ส่วนเงือกเพศผู้นั้นมีนิสัยสงบเงียบและอาศัยอยู่ในน้ำลึก ไม่ขึ้นมาบนผิวน้ำหรือชายฝั่ง อีกทั้งไม่ต้องการให้มนุษย์เห็นตัว

แม้เงือกจะเปลี่ยนลำหางเป็นขามนุษย์เดินดินได้ แต่ไม่สู้จะมีเงือกน้ำเค็มที่แปลงขาขึ้นมาแอบอาศัยกับมนุษย์เท่าไหร่นัก เงือกน้ำเค็มแพ้ทางน้ำจืด บนแผ่นดินนั้นจึงไม่สู้จะอาศัยได้อย่างปลอดภัย เพราะมีน้ำจืดเป็นจำนวนมาก ทั้งหนองคลองบึงและน้ำฝน ที่เมื่อถูกขาแล้วจะมีลายเกล็ดปรากฏออกมาให้เห็น ผิดกับเงือกน้ำจืดที่แผ่นดินดูจะปลอดภัยมากกว่า อีกทั้งเงือกน้ำจืดที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำ หนองคลองบึงที่มีแผ่นดินล้อมรอบ จะมีความใกล้ชิดกับมนุษย์บนพื้นดินมากกว่าและจะสามารถเรียนรู้ความเป็นอยู่ของมนุษย์ได้อย่างง่ายได้และแอบแฝงตัวขึ้นมาบนบกได้โดยไม่ถูกจับ นี่คือเหตุผลว่าทำไมมนุษย์ถึงได้เห็นภาพของเงือกที่มีลักษณะเป็นคนครึ่งปลาได้ในทะเลเสียส่วนใหญ่ แต่ไม่สู้จะเห็นภาพของเงือกคนครึ่งปลาในเขตน่านน้ำจืดเลย ในความเป็นจริงคนบางคนที่เดินสวนทางกับเราในสังคมนั้น อาจเป็นเงือกที่แปลงลำหางขึ้นมาอยู่ร่วมกับมนุษย์อย่างเราๆก็ได้






เงือกในประเทศไทย ถูกกล่าวขานมาตั้งแต่สมัยอดีต ผ่านเรื่องราวต่างๆ มากมาย แต่เป็นเงือกที่ได้รับความนิยม และกล่าวขวัญกันมากที่สุดก็คือ เงือกในวรรณคดีของ สุนทรภู่ เรื่อง พระอภัยมณี ที่นางเงือก (เงือกสาว) และเงือกตายาย ช่วยพาพระอภัยมณีหนีจาก ผีเสื้อสมุทรได้จนสำเร็จ และนางเงือกได้เป็นชายาของพระอภัยมณี จนมีโอรสด้วยกัน 1 องค์ ชื่อว่า สุดสาคร

ในภาษาไทยโบราณ รวมทั้งในวรรณคดีสมัยอยุธยา ถึงรัตนโกสินทร์ มีคำว่า เงือก มาแล้ว แต่มีความหมายแตกต่างกันไป พอจะสรุปได้ดังนี้

 คำว่าเงือกในภาษาไทยโบราณ และภาษาตระกูลไตบางถิ่นนั้น มักจะหมายถึง งู ดังปรากฏในลิลิตโองการแช่งน้ำ ที่ว่า "ท้าวเสด็จเหนือวัวเผือก เอาเงือกเกี้ยวข้าง อ้างทัดจันทร์เป็นปิ่น" นั่นคือ เอางูมาพันรอบกาย, "เสียงเงือกงูว้าง ขึ้นลง" หมายถึง เสียงงู เหล่านี้เป็นภาษาเก่าที่ไม่ปรากฏแล้วในปัจจุบัน
    สัตว์ร้าย จำพวกผี หรือปิศาจ : ปรากฏในลิลิตพระลอ วรรณกรรมสมัยอยุธยาเช่นกัน
    สัตว์ครึ่งคนครึ่งปลา : เชื่อกันว่าเงือกในลักษณะนี้ปรากฏครั้งแรกในวรรณคดีพระอภัยมณีดังกล่าวมาข้างต้น แต่อาจมีค้นเค้าจากเรื่องอื่นก็เป็นได้
    มังกร คนไทบ้างกลุ่มในประเทศจีนและเวียดนาม จะเรียกมังกรว่า "เงือก" เช่น ไทปายี ไทเมือง และกะเบียว ในเวียดนาม

ลักษณะของเงือกที่พบในไทยตามเรื่องเล่าพื้นบ้าน

    ใบหน้าขนาดเท่างบน้ำอ้อย
    มีหวีและกระจกสีทองถ้าใครได้ครอบครองสามารถที่จะเข้าฝันทวงคืนได้
    มีเสียงไพเราะทำให้เดินตกน้ำได้ (เป็นกุศโลบายไม่ให้เด็กเดินไปมาบริเวณท่าน้ำ)

ในยุโรป

ในประเทศยุโรปตอนเหนือ มีตำนานเกี่ยวกับเงือกด้วยเช่นกัน (อังกฤษ: Mermaid (นางเงือก)/Merman (นายเงือก)) ซึ่งเสียงของเงือกมีพลังปิศาจ สามารถชักพาให้ผู้ที่ได้ยินเสียงคล้อยตามได้ การที่เรือเดินทะเลต้องชนกับหินโสโครก และอับปปางลงลำแล้วลำเล่านั้น เป็นเพราะว่าถูกชักจูงให้เดินทางไปตามเสียงเพลงของเงือกนั่นเองคือเพลงเพราะมากจนอยากฟัง

ในประเทศญี่ปุ่น

ในประเทศญี่ปุ่น มีความเชื่อเกี่ยวกับเงือกมากมายเช่นเดียวกัน โดยความเชื่อหลักเกี่ยวกับการกินเนื้อเงือก คือ เมื่อในอดีต มีหญิงสาวคนหนึ่งได้ช่วยนางเงือกเอาไว้ที่ชายหาด นางเงือกซาบซึ้งบุญคุณของหญิงคนนั้น จึงให้กินเนื้อเงือกเป็นการตอบแทน แต่ทว่า อาถรรพณ์ของเนื้อเงือก จะทำให้ผู้ที่กินเข้าไปไม่แก่ไม่ตาย หญิงสาวผู้นั้นมีชีวิตอยู่อย่างไม่มีวันแก่ตาย ได้เห็นผู้คนรอบข้างตายไปทีละคนจนทนไม่ได้ จึงบวชเป็นชีชื่อ แม่ชีเบคุนิ

ปัจจุบัน ในประเทศญี่ปุ่น ตามวัดต่าง ๆ มักจะมีซากเงือกตั้งแสดงอยู่ เป็นของประหลาดและเป็นที่ตื่นตาสำหรับผู้ที่ได้พบเห็น แต่ทว่าซากของเงือกหรือสัตว์ประหลาดต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นของปลอมที่ทำขึ้น โดยการนำเอาอวัยวะของสัตว์ชนิดต่าง ๆ มาปะผสมรวมกัน[ต้องการอ้างอิง]
เงือกยักษ์ ใน Jason and the Argonauts (1963)




ในวัฒนธรรมร่วมสมัย

จากนิทานและเรื่องเล่าเกี่ยวกับเงือกมากมายในอดีต ทำให้ในวัฒนธรรมร่วมสมัยมีการกล่าวถึงเงือกไว้ต่าง ๆ ด้วยเช่นกัน อาทิ ในภาพยนตร์ฮอลลีวูดเรื่อง Jason and the Argonauts ในปี ค.ศ. 1963 ซึ่งสร้างมาจากเทพปกรณัมกรีกเรื่อง เจสัน เมื่อเรืออาร์โกของเจสันกำลังผ่านช่องเขา และช่องเขากำลังถล่ม ก็ปรากฏมีเทพเจ้าโพไซดอน ผู้เป็นใหญ่แห่งมหาสมุทรทั้งปวง (โดยปรากฏเป็นชายร่างยักษ์ที่มีหางเป็นปลา โผล่ขึ้นมาช่วยดันภูเขาให้เรือผ่านไปได้ในที่สุด

และในภาพยนตร์การ์ตูนเรื่อง The Little Mermaid ของวอลด์ ดีสนีย์ ในปี ค.ศ. 1989 ที่ดัดแปลงมาจากนิทานชื่อเดียวกันนี้ของ ฮันส์ คริสเตียน แอนเดอร์สัน เมื่อออกฉาย ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดีจนมีการสร้างภาคต่อตามมาอีกหลายภาคและสร้างเป็นซีรีส์ เป็นต้น